วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รูปแบบการเรียนรู้ 4 ขั้นในการโค้ช (Four Stages of Learning in Coaching)

รูปแบบการเรียนรู้นี้อ้างอิงจากทฤษฏี Four Stages for Learning any New Skill โดย Noel Burch แห่ง Gordon Training International กล่าวว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์เรานั้นจะแบ่งขั้นตอนในการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ออกเป็น 4 ประการ



ขั้นที่  1  คุณไม่รู้ตัวว่าตัวเองไม่มีความสามารถ (Unconscious Incompetence)

หมายถึงสภาวะที่คุณไม่รู้ตัวว่าจะต้องทำอะไร โดยที่ตัวเองยังไม่ทราบว่าตัวเองไม่รู้ว่าจะสร้างความสำเร็จได้อย่างไร (The individual does not understand or know how to do something and does not necessarily recognize the deficit. They may deny the usefulness of the skill. The individual must recognize their own incompetence, and the value of the new skill, before moving on to the next stage.  The length of time an individual spends in this stage depends on the strength of the stimulus to learn.)

ขั้นที่  2  คุณรู้ตัวว่าตัวเองไม่มีความสามารถ (Conscious Incompetence)

หมายถึงสภาวะที่คุณรู้ว่า ตัวคุณเองไม่รู้ว่าจะสร้างความสำเร็จได้อย่างไร
(Though the individual does not understand or know how to do something, he or she does recognize the deficit, as well as the value of a new skill in addressing the deficit. The making of mistakes can be integral to the learning process at this stage.)

ขั้นที่  3 คุณรู้ตัวว่าตัวเองมีความสามารถ (Conscious Competence)

หมายถึงสภาวะที่คุณรู้ว่า สิ่งใดคือสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้  สิ่งที่คุณสามารถทำได้ แต่ต้องทำจนติดเป็นนิสัย
(The individual understands or knows how to do something. However, demonstrating the skill or knowledge requires concentration. It may be broken down into steps, and there is heavy conscious involvement in executing the new skill.)

ขั้นที่  4 คุณไม่สงสัยว่าตัวเองมีความสามารถ (Unconscious Competence)

หมายถึงสภาวะที่คุณสามารถทำในสิ่งที่คุณต้องทำ จนติดเป็นนิสัย เป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ต้องสงสัย
(The individual has had so much practice with a skill that it has become "second nature" and can be performed easily. As a result, the skill can be performed while executing another task. The individual may be able to teach it to others, depending upon how and when it was learned.)

(ต่อมามีผู้อื่นขยายความรู้นี้เป็นขั้นที่ 5  รู้ตัวว่าตัวเองมีความสามารถโดยไม่สงสัย หรือ conscious competence of unconscious competence)



ลองมาดูตัวอย่างเกี่ยวกับการเรียนรู้เพื่อขับรถในแต่ละขั้นกัน

ขั้นที่ 1 - ก่อนที่คุณจะหัดขับรถนั้น  คุณไม่รู้ ไม่สนใจว่าการขับรถนั้นจะให้ประโยชน์อะไรกับตัวคุณ ซึ่งแสดงว่า “คุณไม่รู้ตัวว่า ตัวเองไม่มีความสามารถ” (Unconscious Incompetence)

ขั้นที่ 2- เมื่อคุณรู้ว่าเมื่อขับรถเป็นนั้นจะสร้างประโยชน์อย่างไรให้คุณบ้าง  คุณก็เริ่มศึกษาวิธีขับรถโดยการหาคนสอน หรือไปเรียนจากโรงเรียนสอนขับรถ ซึ่งแสดงว่า “คุณรู้ว่าตัวเองไม่มีความสามารถ” (Conscious Incompetence) ในขั้นนี้อารมณ์ของผู้เรียนรู้โดยธรรมชาติมักจะออกไปในด้านลบ เช่น กลัว อึดอัด ไม่แน่ใจ โมโห โกรธเคือง ไม่เห็นด้วย รำคาญ 
  
ขั้นที่ 3 - เมื่อคุณหัดขับรถบ่อยขึ้น คุณก็ขับรถได้ แต่คุณยังขาดความชำนาญ  ซึ่งทำให้ต้องขับรถบ่อยๆ ในสถานการณ์ต่างๆ จนชำนาญ ซึ่งแสดงว่า “คุณรู้ตัวว่าตัวเองมีความสามารถ” (Conscious Competence) อารมณ์ของผู้เรียนรู้จะเป็นในด้านบวกเช่น ดีใจ ตื่นเต้น กระตือรือล้น มุ่งมั่น

ขั้นที่ 4 - คุณมีความชำนาญ มีความมั่นใจ คุณรู้ตัวเองว่าคุณขับรถได้อย่างอัตโนมัติ  คุณสามารถขับรถได้โดยไม่ต้องยั้งคิด คุณเพียงเดินขึ้นรถแล้วขับออกไปเท่านั้นเอง ซึ่งแสดงว่า “คุณไม่สงสัยว่าตัวเองมีความสามารถ” (Unconscious Competence)

เราสามารถนำเอาหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ในการโค้ชได้อย่างไร

1.      การโค้ชจริงๆ แล้วก็คือการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างโค้ชกับโค้ชชี่

2.      โค้ชควรเข้าใจว่าโค้ชชี่เมื่อเริ่มต้นเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรมักจะไม่รู้ในสิ่งนั้นหรือรู้เพียงแค่เล็กน้อย ซึ่งรวมถึงการตระหนักรู้ในสถานการณ์ปัจจุบันของตัวโค้ชชี่

3.      เมื่อโค้ชชี่เริ่มเข้าใจและรู้ตัวเองว่ายังไม่มีความสามารถ เขาก็ต้องเพิ่มความรู้ ทักษะ และเข้าใจอารมณ์ตนเอง เพื่อให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นด้วยการเรียนรู้ตัวเองและสิ่งต่างๆ
 
4.      สุดท้ายโค้ชชี่มีความรู้และเกิดความชำนาญก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นธรรมชาติ

5.      โค้ชมีบทบาทช่วยให้เขา “รู้ในสิ่งที่เขาไม่รู้ หรือ มองเห็นจุดบอดของตน” ('know what they don't know or recognize a blind spot) ในกรณีนี้โค้ชสามารถนำเอาหลักทฤษฎี Johari window ที่เกี่ยวกับ self-awareness มาประยุกต์ใช้ได้

6.      โค้ชต้องเข้าใจความรู้สึกหรืออารมณ์ของโค้ชชี่ในแต่ละขั้นตลอดกระบวนการเรียนรู้ของเขา เพื่อช่วยจูงใจเขาให้ก้าวข้ามในแต่ละขั้น

7.      โค้ชควรช่วยให้โค้ชชี่เข้าใจความคาดหวังของตนต่อเป้าหมายการโค้ชว่าไม่สามารถกระโดดข้ามขั้นตอนมากเกินไป ซึ่งรูปแบบนี้บางครั้งก็จะเปรียบกับบันได 4 ขั้นของการเรียนรู้



วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พลังความอยากรู้อยากเห็นในการโค้ช (The Power of Curiosity in Coaching)

ความอยากรู้อยากเห็นเกิดขึ้นเพราะมนุษย์สามารถตั้งคำถาม “ทำไม” ได้ เนื่องจากเราเป็นสัตว์โลกประเภทเดียวที่มีเหตุผล จึงทำให้อยากรู้อยากเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัวที่เป็นปริศนาให้คิด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่มองเห็นไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตล้วนแต่น่าฉงนสนเท่ห์ด้วยกันทั้งนั้น แม้แต่ชีวิตมนุษย์เองก็เป็นสิ่งน่ารู้น่าเห็นไม่น้อยกว่าโลกและจักรวาล ความอยากรู้อยากเห็นความอยากหาคำตอบในเรื่องต่างๆ ที่สงสัยไม่เข้าใจ เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้มนุษย์ไม่ยอมอยู่เฉยมุ่งแสวงหาความรู้ ตราบใดที่มนุษย์ไม่ได้ความรู้ที่ต้องการ จิตที่อยากรู้อยากเห็นก็จะไม่มีวันมีสงบ โดยเหตุที่ความรู้เป็นสิ่งไม่มีขอบเขตจำกัดและจับต้องไม่ได้ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องแสวงหาความรู้สืบต่อกันไปเรื่อยๆ โดยไม่สิ้นสุด นี่เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องแลกกับการเป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล



ปรัชญากับความอยากรู้อยากเห็น

ปรัชญาเป็นการมองดูโลกและชีวิตแบบลึกซึ้ง หลายคนอธิบายว่าปรัชญาเป็นวิธีการคิดและแสวงหาความรู้โดยใช้เหตุผล ปรัชญาเป็นวิธีการวิเคราะห์ความรู้และภาษาในศาสตร์ต่างๆ ให้กระจ่างแจ้งเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ธรรมชาติของปรัชญาคือการใช้เหตุผลวิเคราะห์ วิพากษ์ และสังเคราะห์ให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ในสมัยที่ศาสตร์ต่างๆ ยังไม่เกิดขึ้น ปรัชญาเป็นศาสตร์เดียวที่ศึกษาเกี่ยวกับโลกและชีวิต แม้แต่วิทยาศาสตร์เองก็เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาเช่นกัน 

ปรัชญากับศาสนา

ศาสนาเกิดก่อนปรัชญา และมีแหล่งที่มาไม่เหมือนกัน “ศาสนาเกิดจากความกลัวและเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ แต่ปรัชญาเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นและเป็นเรื่องของการใช้เหตุผลหาความจริง” ดังนั้นศาสนาและปรัชญาต่างก็มีเอกลักษณ์ประจำตัวคนละอย่าง ในประเทศกรีซโบราณที่เป็นบ่อเกิดของอารยธรรมตะวันตก ปรัชญาเกิดขึ้นเมื่อปัญญาชนไม่พอใจคำอธิบายของศาสนาเกี่ยวกับโลกและชีวิตโดยการอ้างอิงอำนาจของเทพเจ้าหรือพลังเหนือธรรมชาติและพยายามหาคำอธิบายใหม่ที่มีเหตุมีผล พัฒนาการของปรัชญาเริ่มจากงานของโสเครตีสและขึ้นสู่ระดับสูงสุดในสมัยของเพลโตและอริสโตเติล

อาจกล่าวได้ว่า “การโค้ช” ถูกพัฒนามาจากปรัชญา สังเกตได้จากการที่โค้ชช่วยให้โค้ชชี่คิดและแสวงหาความรู้โดยใช้เหตุผลด้วยตัวเอง ดังนั้นโค้ชโดยปริยายควรมีความอยากรู้อยากเห็น โดยการใช้การกระทำหรือพฤติกรรมการ “ถาม” นั่นเอง 

ถ้าจะสรุปง่ายๆ ก็อาจเป็นได้ว่า “ศาสนาใช้วิธีบอกให้ผู้อื่นเชื่อและรับฟัง แต่ปรัชญาใช้วิธีถามและฟังผู้อื่นเพื่อหาเหตุผล” 

“การโค้ช” จึงมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับ “ปรัชญา ความอยากรู้อยากเห็น การถาม และ การหาเหตุผล”  

ความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ 

มนุษย์เติบโตมาพร้อมกับความอยากรู้อยากเห็น เราจะเห็นความอยากรู้อยากเห็นอย่างชัดเจนจากเด็กซึ่งมักมีคำถามง่ายๆ กับพ่อแม่ตลอดเวลา เช่น นั่นคืออะไร ทำไมต้องทำอย่างนั้น  และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่นำพลังและความมีชีวิตชีวาเข้ามาสู่การโค้ช เพราะความอยากรู้อยากเห็นเป็นคุณสมบัติที่น่าอัศจรรย์เพราะดูเหมือนจะนำมาใช้เล่นๆ แต่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ความอยากรู้อยากเห็นจะช่วยเปิดประตูที่ปิดตายและถูกลืมของโค้ชชี่ให้ถูกเปิดขึ้นอีกครั้ง (curiosity presents a paradox: it has a wonderful quality of playfulness; and yet, in practice, it is a powerful way of opening doors that the client has closed, locked and forgotten)

บทบาทของโค้ชในที่นี้คือการใช้ทักษะการถามอย่างทรงพลัง (powerful questioning) เพื่อเริ่มจะเปิดประตูเหล่านั้น  ซึ่งคำถามประเภทนี้จะไม่มีคำตอบที่ตั้งใจในใจของผู้โค้ชถาม 

ลองมาทำความเข้าใจคำถามที่มาจากความอยากรู้อยากเห็น ในกรณีตัวอยา่งที่โค้ชชี่มีเป้าหมายลดน้ำหนักตัวเองต่อไปนี้ครับ  

ก. คำถามปลายปิด "คุณต้องออกกำลังกายมากแค่ไหนต่อสัปดาห์"

ข. คำถามปลายเปิด "คำว่า หุ่นที่ฟิต สำหรับคุณมันหมายถึงอะไร"

โดยเฉพาะจากคำถามปลายเปิดข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าความอยากรู้อยากเห็นของโค้ชจะช่วยให้เกิดการสำรวจค้นหาอย่างมีพลังของโค้ชชี่ ซึ่งหมายถึงการที่โค้ชได้เสริมแรงให้โค้ชชี่ใช้ความสร้างสรรค์และศักยภาพของตนมาช่วยในการตอบคำถามที่เกิดจากความอยากรู้อยากเห็น

กล่าวได้ว่าคำถามที่ทรงพลังนี้มาจากความอยากรู้อยากเห็นนั่นเอง 

ถ้าโค้ชสามารถใช้แต่คำถามทรงพลังกับโค้ชชี่อย่างเคร่งครัด โดยไม่มีการแนะนำหรือให้คำตอบกับโค้ชชี่ได้ หรือที่เรียกว่า pure coaching โค้ชจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของโค้ชชี่อย่างน่าอัศจรรย์ 

นิยามคำถามที่ทรงพลังจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ

การถามแบบทรงพลังคือความสามารถในการใช้คำถามสามารถเปิดให้เห็นถึงข้อมูลที่ต้องการเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของความสัมพันธ์ระหว่างโค้ชและโค้ชชี่

1. ใช้คำถามที่สะท้อนถึงการฟังเชิงรุกและความเข้าใจในมุมมองของโค้ชชี่

2. ใช้คำถามที่ปลุกให้เกิดการค้นพบ การเห็นแจ้งและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ความมุ่งมั่น หรือ การกระทำ (ทั้งหลายที่ท้าทายสมมุติฐานของโค้ชชี่)

3. ใช้คำถามปลายเปิดที่สร้าง ความกระจ่างชัดที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ความเป็นไปได้ หรือ การเรียนรู้ใหม่ๆ

4. ใช้คำถามที่ส่งให้โค้ชชี่ก้าวไปข้างหน้าตามที่เขาปรารถนา ไม่ใช่คำถามที่ถามเพื่อให้โค้ชชี่ก้าวถอยหลัง

คุณสมบัติของคำถามที่ทรงพลัง

1. สั้น กระชับ 
2. ตรงๆ ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน 
3. มาจากความอยากรู้อยากเห็นที่แท้จริงตามธรรมชาติ
4. เกิดจากความคิดสร้างสรรค์
5. ช่วยการสะท้อนความคิดของโค้ชชี่
6. ไม่สามารถตอบได้ทันทีทันใด ควรต้องใช้เวลาคิด

ตัวอย่างคำถามที่ทรงพลัง 

• คุณต้องการอะไร (What do you want?)
• อะไรที่มันหยุดคุณอยู่ (What’s holding you back?)
• อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้คุณไม่ก้าวไปข้างหน้า (What is it costing you to continue holding back?)
• คุณสามารถเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อย่างไร (How do you want to change your mind’s programming on that topic?)
• อะไรคือนิสัยแบบใหม่ที่จะช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้าได้ (What new habits will you put in place to fortify your new mindset?)
• อะไรคือการกระทำที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่คุณสามารถทำได้ในขณะนี้ (What is the most meaningful action you could take now?)
• อะไรคือทักษะใหม่หรือการสนับสนุนที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จ (What new skills or support systems will ensure your success?)

การสร้างความอยากรู้อยากเห็น

วิธีเริ่มต้นการอยากรู้อยากเห็นที่ดีที่สุดคือการจริงใจและซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ไม่เสแสร้งว่าอยากรู้อยากเห็น ให้ลองนึกถึงเวลาที่เราเกิดความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่างๆ ในโลกนี้อย่างเป็นธรรมชาติ ใช้การสังเกตอารมณ์ ความรู้สึก และ การรับรู้ของตัวเองอย่างละเอียดอ่อนว่าธรรมชาติอันน่าพิศวงเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร 

สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการเกิดความอยากรู้อยากเห็นคืออย่าให้ระบบความเชื่อเพื่อป้องกันตนเอง (self-defeating belief systems) เช่น ความเชื่อว่าทำไม่ได้ในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคตก็ย่อมทำไม่ได้ มาเป็นตัวหยุดความอยากรู้อยากเห็นของเรา 

คำถามที่ใช้ตรวจสอบความอยากรู้อยากเห็นของโค้ช

โค้ชอาจถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้ความอยากรู้อยากเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ 

• มีอะไรขัดขวางให้ฉันอยู่กับปัจจุบันโค้ชชี่บ้าง ถ้ามี ฉันต้องทำอะไรกับมันบ้าง (Is anything preventing me from being fully present with this client?  If so, what do I need to do to be fully present?)

• ฉันกำลังใช้การพิพากษากับโค้ชชี่หรือใช้ความอยากรู้อยากเห็นแบบเปิดเพื่อสำรวจเขา (Am I moving into a judging mind with the client rather than remaining curious and open to learning and exploring?)

• ฉันกำลังใช้การรับรู้ของตนเองกับสิ่งที่โค้ชชี่กำลังเล่าให้ฟังหรือเปล่า (Am I projecting my own issues, concerns or interests onto what the client is sharing?)

• ฉันกำลังใช้การสมมุติฐานอะไรกับสถานการณ์ของโค้ชชี่ แล้วมันหยุดความอยากรู้อยากเห็นของฉันกับโค้ชชี่แค่ไหน (What assumptions am I making about this client and his or her situation? How might these be blocking my curious exploration with this client?)

โค้ชควรให้โอกาสและเวลาให้โค้ชชี่ได้คิด โดยให้ความอยากรู้อยากเห็นใช้เวลาทำงานของมันกับความคิดของโค้ชชี่ โค้ชต้องมีสติที่จะตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้งและสามารถอดทนรอ  คำถามที่ทรงพลังจะช่วยให้โค้ชชี่ใช้กระบวนการคิดเพื่อเกิดปัญญา แทนที่จะใช้สัญชาตญานของตนตอบ (Powerful questions knock people off their automatic pilot program and make them fly the airplane.)